หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมทางด้านความเป็นอยู่ และด้านอาหาร เช่น การทำงานที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง จากการทำการเกษตรกรรมที่ต้องมีการออกแรงกายมาเป็นการนั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ มีการออกแรงกายน้อยมาก หรือ ด้านอาหาร ประชาชนเปลี่ยนจากการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยจากผักและผลไม้ มาเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งหากมีการปรับให้ประชาชนมีการออกกำลังกายมากขึ้น และ รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้น น่าจะทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น
นอกจากนั้นปัจจุบันคนไทยมีความสนใจด้านการกีฬามากขึ้น ทำให้มีการแข่งขันในแง่ที่ทำเป็นธุรกิจมากขึ้น เช่น การแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ หรือ การแข่งกอล์ฟ รวมทั้งรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้มีการใช้การกีฬาเพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพดังกล่าว และเพื่อเพิ่มรายได้ของประชากรและประเทศ จากการกีฬา รวมทั้งมีนโยบายส่งเสริมการนวดให้นำมาใช้ทั้งด้านการรักษาสุขภาพ และ ส่งเสริมสมรรถภาพด้านการกีฬา โดยให้เป็นไปตามนโยบายที่มีการใช้วัฒนธรรมดิจิทัลในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น
ปรัชญา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีของศาสตร์ วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬาและสามารถบูรณาการความรู้ทาง สรีรวิทยา จิตวิทยา ชีวกลศาสตร์ เวชศาสตร์การกีฬา และโภชนาการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ทางด้านการออกกำลังกายและการกีฬา เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นเลิศทางด้านการกีฬา ตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
5 มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ มีภาวะผู้นำ รับผิดชอบในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงของตนเองให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน และสังคม ทั้งในระดับเพื่อนร่วมงาน ชุมชน ท้องถิ่น สังคมและประเทศชาติ รวมทั้งมีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกันเป็นทีม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
สามารถประกอบอาชีพในสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน องค์กรการวิจัย หรือองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในฐานะอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้ฝึกสอน หรือผู้บริหารองค์กร ด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แผน ก แบบ ก 1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และ/หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง แผน ก แบบ ก 2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านสุขภาพ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 แต่มีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 1 ปี
หากมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่ระบุในข้อ 3. ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร