Choose language

ไทย English
ພາສາລາວ Tiếng Việt

#LG
#LoGo

ติดต่อ บว. | FAQ       ไทย | EN


การประเมิน วิทยานิพนธ์/การศึกษาอิสระ : FAQ คำถามที่ถามบ่อย

share Facebook x (twitter) LINE


"1. การประเมิน วิทยานิพนธ์/การศึกษาอิสระ"

คำถาม : จะทำให้เกิดความมั่นใจได้อย่างไรว่าต่างหลักสูตร ต่างคณะ ผลประเมินวิทยานิพนธ์ มี assessment tools ที่เป็น standard ที่มี fairness ของการประเมิน?

คำแนะนำ : บว. มีประกาศ 105/2566 ข้อ 5 มีแนวทางการประเมินวิทยานิพนธ์ครอบคลุมในหลายมิติ เช่น การออกแบบ ผลการวิจัย การสรุปผล เป็นมาตรฐานกลาง เป็นประกาศกลางซึ่งคณะต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการไปออกประกาศย่อยเพิ่มเติม โดยเกณฑ์การประเมินย่อยของแต่ละคณะอาจมีความจำเพาะตามบริบทของแต่ละคณะ ทั้งนี้แนวทางการประเมินสามารถที่จะปรับเกณฑ์การประเมิน เพื่อให้เกิด fairness ของการประเมินระหว่างหลักสูตรต่าง ๆ ภายในคณะได้


คำถาม : มีแนวทางอยู่แล้วหรือไม่  จะทำให้เห็น progress ของ LO ในหลักสูตรที่ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว เมื่อพิจารณาให้เห็นความแตกต่างระหว่างหลักสูตรแบบ 1.1 (จบโทเรียนเอก) vs 1.2 (จบตรีเรียนเอก) ของหลักสูตรป.เอก ได้อย่างไร?

คำแนะนำ : 1 ในส่วนของการประเมินความก้าวหน้าของ LO ที่สอดคล้องกับ KSA ที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ระหว่างทาง (formative assessment) มีการประเมินระดับ LO ที่เพิ่มขึ้นและทำให้มั่นใจได้ว่า LO แต่ละด้านบรรลุถึงระดับที่คาดหวัง ก่อนการบรรลุการประเมินปลายทาง (summative assessment) ที่เป็นการประเมินจากผลงานตีพิมพ์จำนวนเท่ากันในแบบ 1.1 และแบบ 1.2 โดยเครื่องมือจากระดับมหาวิทยาลัย (บว.) คือ ประกาศฉบับ 104/2566 ซึ่งสาระหลักในการควบคุม คือ ข้อ 6 การประเมินความก้าวหน้า thesis/ IS ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการประจำคณะ ทั้งนี้ในแนวทางการประเมินในมิติ KSA ซึ่งเป็นแนวทางการประเมินใหม่จากประกาศกระทรวง ยังไม่มีแนวทางของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ชัดเจน ในปัจจุบัน บัณฑิตวิทยาลัยจึงจะออกประกาศกลางว่าด้วย ประกาศ แนวทางการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของวิทยานิพนธ์ และการศึกษาอิสระ  ในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ที่สอดคล้องกับประกาศ กมอ) แยกระหว่างหลักสูตรโท-เอก เพื่อให้คณะสามารถออกประกาศเพิ่มเติมให้ได้แนวปฏิบัติที่ชัดเจนและเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับประกาศกลางจากบัณฑิตวิทยาลัยต่อไปได้ (หากดำเนินการเสร็จแล้วจะประกาศโดยทั่วกันต่อไป)

2 ประกาศว่าด้วยเรื่องเกณฑ์สำเร็จการศึกษา ระบุการประเมินเกณฑ์สำเร็จ ป.เอก แบบ 1.1 (จบโทเรียนเอก) และ 1.2 (จบตรีเรียนเอก) ปลายทางใช้เกณฑ์สำเร็จการศึกษาเดียวกัน เช่น ผลงานตีพิมพ์ 2 เรื่อง ซึ่งตรงตามประกาศกระทรวงนั้น เป็นการวัด summative ที่ถือว่าเหมาะสมแล้ว เนื่องจากเป็นประกาศของกระทรวง โดยตีความเจตจำนงของผู้ร่างประกาศ คือ ป.โท จบโทมาแล้วจะทำให้ได้ ผลงานตีพิมพ์ 2 เรื่อง ย่อมใช้เวลาและหน่วยกิตน้อยกว่าผู้ที่จบตรีมา ที่ต้องฝึกฝนทำงานวิจัยมากกว่า เพื่อให้ได้ผลงานตีพิมพ์ 2 เรื่อง ปลายทางที่เท่ากัน