share Facebook x (twitter) LINE
บัณฑิตวิทยาลัยมีบทบาทหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กับคณะที่นักศึกษาสังกัด โดยรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับงานด้านบัณฑิตศึกษาตั้งแต่การรับเข้าจนสิ้นสุดกระบวนการสำเร็จการศึกษา จากนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 20 คณะ ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 1 คณะในสังกัดวิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ 3 หน่วยงาน คือสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการที่ทำหน้าที่ในการประสานงานและสนับสนุนด้านการลงทะเบียน สำนักหอสมุด สนับสนุนและให้บริการทางด้านการศึกษาค้นคว้างานด้านการเรียนการสอน และสำนักเทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนและให้บริการด้านระบบสารสนเทศ หน่วยงานเหล่านี้มีปัญหาในความไม่คล่องตัว และเกิดความล่าช้าในการประสานงานระหว่างคณะ บัณฑิตวิทยาลัย จึงได้มีการปรับโครงสร้างในการบริหารงานใหม่โดยกระจายความรับผิดชอบไปยังคณะ และหน่วยงานต่างๆ ให้มีบทบาทและหน้าที่ในการบริหารจัดการงานด้านบัณฑิตศึกษาของคณะหรือหน่วยงานนั้นๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงได้มีคณะกรรมการเครือข่ายการประสานงานของฝ่ายสนับสนุนบัณฑิตศึกษาเกิดขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานคณะกรรมการเครือข่ายการประสานงานของฝ่ายสนับสนุนบัณฑิตศึกษา ได้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อนให้เกิดการพัฒนาและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อจะได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของตัวบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านบัณฑิตศึกษา และนำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรต่อไป
1. เพื่อรักษาคุณภาพและพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพรวดเร็ว เกิดความคล่องตัวในการประสานงาน
2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
3. เพื่อให้บุคลากรและผู้ปฏิบัติงานด้านบัณฑิตศึกษา ได้มีการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากหน่วยงานภายนอก
ประกอบด้วย
1. ผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 6 คน
2. คณะกรรมการเครือข่ายฯ จากผู้แทนคณะ และหน่วยงาน ต่างๆ จำนวน 25 คน
3. คณะกรรมการเครือข่ายฯ จากบุคลากรของบัณฑิตวิทยาลัย จำนวน 10 คน
1. มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
2. เยี่ยมชมคณะต่างๆ อย่างน้อย 3 คณะต่อปี
3. สัมมนากลุ่มย่อย
4. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ/ศึกษาดูงานหน่วยงานภายนอก
5. ประมวลผล และสรุปผลการดำเนินงาน
1. การทำงานด้านการบริหารจัดการการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีคุณภาพ และประสิทธิภาพ มากขึ้น และก่อให้เกิดความคล่องตัวในการประสานงาน
2. มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างคณะกรรมการเครือข่ายการประสานงานของฝ่ายสนับสนุนบัณฑิตศึกษา แต่ละคณะ
3. ได้เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในงานด้านบัณฑิตศึกษา